น้ำยาแอร์ R32 คืออะไร
จากเดิมที่เป็นน้ำยาแอร์ R22 ที่สารเอชซีเอฟซี (HCFCS) เปลี่ยนนมาเป็นน้ำยา R32 แทน เพื่อลดการปล่อยสาร CFC ที่ทำลายชั้นบรรยากาศ ตามนโยบายของกรมโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการให้ยกเลิกการใช้สารดังกล่าวแบบขั้นบันไดจนกระทั่งเป็นศูนย์ในปี 2573 ตามที่ไทยได้ลงนามสนธิสัญญา ตามพิธีสารมอนทรีออล ที่กำหนดให้ประเทศสมาชิกต้องยกเลิกใช้สารดังกล่าว
เมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2557 ทาง ASHRAE Thai ได้จัดให้มีการจัดสัมมนาในหัวข้อ "ทิศทางสารทำความเย็นใหม่สำหรับเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น จากผลกระทบของภาวโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ"
น้ำยาแอร์ R32 คืออะไร
ความเป็นจริงแล้ว เราคุ้นเคยกับน้ำยา R32 มาระยะหนึ่งแล้ว แต่ในอีกรูปแบบหนึ่งเป็นน้ำยาแอร์ R410a นั่นเอง น้ำยาแอร์ R410a ประกอบด้วยน้ำยาแอร์ R32 ครึ่งหนึ่ง และน้ำยาแอร์ R125 ครึ่งหนึ่ง ดังนั้นคุณสมบัติและการใช้งานของ น้ำยาแอร์ R32 นี้จึงใกล้เคียงกับ R410a เพียงแต่น้ำยาตัวนี้ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม A2 (SAFTY GROUP-A2) ซึ่งหมายความว่ามันมีคุณสมบัติในการติดไฟเล็กน้อย (slightly flammable)
ทำไมถึงใช้ น้ำยาแอร์ R32 R410a และ R32 มีค่า ODP = O (ค่า ODP : Ozone Depletion Potential เป็นค่าที่บ่งบอกถึงการทำลายชั้นโอโซน ถ้ามีค่ามากจะสามารถทำลายชั้นโอโซนในบรรยากาศได้มาก) R410a มีค่า GWP = 1980 ส่วน R32 มีค่า GWP = 550 (ค่า GWP = Global Warming Potential เป็นค่าตัวเลขที่วัดเป็นสัดส่วนในการทำให้โลกร้อนขึ้น ค่า GWP สูงจะทำให้โลกร้อนขึ้นเมื่อเทียบกับค่า GWP ที่ต่ำ) ดังนั้นเมื่อเทียบค่า GWP ของน้ำยา R32 และน้ำยา R410a แล้ว จะเห็นว่าน้ำยา R32 เป็นพระเอก เนื่องจากค่า GWP ต่ำกว่า (ประมาณ 3.6 เท่า) แต่เมื่อมาถึงข้อคุณสมบัติในการติดไฟ น้ำยา R32 ก็จะกลายเป็นร้าย เพราะน้ำยา R32 สามารถติดไฟได้ถึงแม้ว่าจะอยู่ในกลุ่ม A2 (ติดไฟได้เล็กน้อย - SLIGHTLY FLAMABLE) เมื่อเทียบกับ R410a ซึ่งถูกจัดอยู่ในกลุ่ม A1 ซึ่งถือว่าไม่มีคุณสมบัติในการติดไฟ
แล้วถ้าเป็นเช่นนี้ ทำไมยังจะใช้ R32 อีกล่ะ มันมีโอกาศที่จะเกิดอัตรายต่อผู้ใช้มิไช่หรือ จากการทดลองในห้องทดลองแล้วการใช้งานที่ผ่านมาแล้ว (ในญี่ปุ่นมีการใช้งานมากกว่า 5 ปีแล้ว) การที่ น้ำยา R32 จะติดไฟได้นั้น มันจะต้องมีความเข้มขัน ของตัวน้ำยาพอสมควร จากการทดลองจะเกิดอากาศของการเริ่มติดไฟเมื่อมีความเข้มขันของน้ำยา R32 ในระดับ 13.5% ขึ้นไปโดยปริมาตร ยกตัวอย่าง เราติดแอร์แบบติดผนังในห้องขนาด 4x4 เมตร ห้องมีความสูง 3 เมตร ปริมาตรของห้องคือ 48 ลูกบาศก์เมตร จะต้องมี R32 อยู่ในห้อง 6.5 ลบ.เมตร (ประมาณแทงค์น้ำทรงสี่เหลี่ยมขนาด 1.2 ม.x1.2 ม.x1.2 ม. จำนวน 3 แทงค์ครึ่ง) จึงจะเริ่มมีการติดไฟ สมมติว่าเราติดแอร์ในห้องนี้โดยใช้ขนาด 1 ตัน จะต้องเติมน้ำยาในระบบประมาณ 1 กก. โดยน้ำหนัก ประมาณง่ายๆ ว่าปริมาตรน้ำยาจำนวนประมาณเท่าขวดน้ำกินทั่้วไปขวดใหญ่ 1.5 ลิตร โดยปริมาตรเราจะเห็นว่าขนวดน้ำ 1.5 ลิตร เมื่อเทียบกับแทงค์น้ำ 3 แทงค์มันน้อยนิดมาก (ประมาณ 0.03% โดยปริมาตร) โอกาศที่จะเกิดการติดไฟก็มีโอกาสน้อยตามไปด้วย ดังนั้นถึงแม้ว่า R32 จะมีคุณสมบัติในการติดไฟ แต่เมื่อมันมีปริมาณที่น้อยมันก็ไม่สามารถติดไฟได้ เพราะสภาพแวดล้อมไม่อำนวยให้ติดไฟได้ อีกประการหนึ่ง ถึงแม้ว่าจะติดไฟ ลักษณะของเปลวไฟจะไม่ลุกลามมาก มันจะมีลักษณะเป็นเปลวไฟวงกลมรอบแหล่งกำเนิดไฟ ไม่ใช้เป็นการติดไฟอย่างรวดเร็วเหมือนพวกกลุ่ม PROPANE
|