เนื่องจากประเทศไทย ตั้งอยู่ในเขตภูมิอากาศที่มีอากาศร้อนชื้นเกือบตลอดทั้งปี การใช้ "เครื่องปรับอากาศ"เพื่อ ทำความเย็นให้เกิดความรู้สึกสบายแก่ผู้อาศัยในบ้านพักที่อยู่ในเมื่องใหญ่ๆ หรือตามชานเมือง จึงได้รับความนิยมมาก แต่เครื่องปรับอากาศเป็น เครื่องจักรกลที่ใช้พลังงานไฟฟ้าค่อนข้างสูง ผู้ใช้จึงต้องตระหนักถึงการจ่ายค่าไฟฟ้าที่มากขึ้นด้วย ดังนั้นการที่จะอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าของระบบปรับอากาศ โดยไม่ทำให้เกิดผลเสีย ต่อความสุขสบายของผู้ใช้ และประหยัดค่าใช้จ่าย เพื่อผลประโยชน์ต่อผู้ใช้เองและต่อ ประเทศชาติโดยส่วนรวมนั้น จำเป็นต้อง ทราบถึงลักษณะการทำงานของเครื่องปรับอากาศ แต่ละชนิด การเลือกชนิดและขนาดของเครื่องให้เหมาะสมกับห้อง ตลอดจนต้องทราบถึง การติดตั้ง การใช้งาน และการบำรุงรักษาที่ถูกวิธีด้วย อุปกรณ์ต่างๆ ภายในเครื่องปรับอากาศ
เครื่องปรับอากาศของบ้านพักอาศัย ประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างๆ ที่สำคัญ 9 อย่างดังนี้
1. แผงท่อทำความเย็น (Cooling coil) 2. คอมเพรสเซอร์ (Compressor) 3. แผงท่อระบายความร้อน (Condenser coil) 4. พัดลมส่งลมเย็น (Blower) 5. พัดลมระบายความร้อน (Condenser fan) 6. แผ่นกรองอากาศ (Air filter) 7. หน้ากากเครื่องที่มีแผ่นเกล็ดกระจายลมเย็น (Louver) 8. อุปกรณ์ควบคุมสำหรับการเปิด-ปิดเครื่อง ตั้งค่าอุณหภูมิห้อง ตั้งความเร็วของพัดลมส่งลมเย็น ตั้งเวลาการทำงานของเครื่อง เป็นต้น อุปกรณ์ควบคุมนี้อาจติดตั้งอยู่ที่ตัว เครื่องปรับอากาศเอง หรือแยกเป็นอุปกรณ์ ต่างหากเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ในการ ควบคุมระยะไกล (Remote control) จากบริเวณอื่นๆ ภายในห้องปรับอากาศ 9. อุปกรณ์ป้อนสารทำความเย็น (Metering device)
หลักการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ การทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศต้องอาศัยสารทำความเย็น ซึ่งเป็นสารที่ไม่ มีกลิ่น สี และรส
วัฎ จักรการทำความเย็นเริ่มจากผู้ใช้เครื่องปรับอากาศ สารทำความเย็น เหลวในปริมาณพอเหมาะจะไหลผ่านอุปกรณ์ป้อนสารทำความเย็นเข้าไปยังแผงท่อทำ ความ เย็นซึ่งติดตั้งอยู่ภายในห้อง พัดลมส่งลมเย็นจะดูดอากาศร้อนและชื้นภายในห้องผ่านแผ่น กรองอากาศ ซึ่งติดตั้งอยู่ด้านหน้าของแผงท่อทำความเย็น เพื่อกรองเอาฝุ่นละอองขนาดใหญ่ ออกไป จากนั้นอากาศร้อนชื้นจะคายความร้อนให้แก่สารทำความเย็นภายในแผงท่อทำความ เย็น ทำให้มีอุณหภูมิและความชื้นลดลงและถูกพัดลมส่งลมเย็นกลับเข้ามาสู่ห้องอีก ครั้งหนึ่ง โดยผ่านแผ่นเกล็ดกระจายลม เพื่อให้ลมเย็นแพร่ไปสู่ส่วนต่างๆ ของห้องอย่างทั่วถึง
สำหรับ สารทำความเย็นเหลวภายในแผงท่อทำความเย็น เมื่อได้รับความร้อนจาก อากาศภายในห้องจะระเหยกลายเป็นไอ และไหลเข้าสู่คอมเพรสเซอร์ ซึ่งไอที่ได้นี้จะถูกส่ง ต่อไปยังแผงท่อระบายความร้อนซึ่งติดตั้งอยู่นอกอาคาร พัดลมระบายความร้อนจะดูดอากาศ ภายนอกมาระบายความร้อนออกจากสารทำความเย็น ทำให้ไอสารทำความเย็นกลั่นตัวกลับ เป็นของเหลวอีกครั้งหนึ่ง และไหลออกจากแผงท่อระบายความร้อนไปสู่อุปกรณ์ป้อนสารทำ ความเย็นวนเวียนเป็นวัฎจักรเช่นนี้ตลอดเวลา จนกว่าอุณหภูมิในห้องจะถึงระดับที่เราตั้งไว้ อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิก็จะส่งสัญญาณให้เครื่องคอมเพรสเซอร์หยุดทำงานชั่วขณะหนึ่งจึงประหยัดไฟฟ้าส่วนที่ป้อนให้คอมเพรสเซอร์ทำงานได้ แต่พัดลมส่งลมเย็นยังคงทำหน้าที่ส่ง ลมให้ภายในห้อง จนเมื่อความร้อนจากร่างกายของผู้ที่อยู่ในห้องเริ่มทำให้คอมเพรสเซอร์ทำ งานโดยอัดสารทำความเย็นป้อนเข้าไปในแผงท่อทำความเย็นใหม่ ดังนั้น ถ้าเราตั้งอุณหภูมิที่อุปกรณืควบคุมไม่ให้ต่ำมากคือ ไม่ให้เย็นจนเกินไป ก็จะ ช่วยประยัดค่าไฟได้ ซึ่งตามปกติควรตั้งไว้ที่ 25 ํ C
หลักการ ทำความเย็นในลักาณธนี้ จะต้องทำให้ห้องที่จะทำการปรับอากาศนั้นอยู่ ในสภาพที่เป็นระบบปิดเสมือนเป็นกล่องใบหนึ่งคือ ต้องปิดประตูและหน้าต่างทุกบานให้มิด ชิดอย่าให้มีอากาศรั่วเข้าออกได้ เครื่องปรับอากาศจะทำงานโดยรับความร้อนและความชื้น จากภายในห้องไปปรับจนเย็นถึงอุณหภูมิที่ตั้งไว้ ซึ่งยังมีผู้ใช้เครื่องปรับอากาศผิดๆ โดยเปิด เครื่องปรับอากาศและยังคงเปิดประตูหรือหน้าต่างไว้ ซึ่งทำให้อากาศและความชื้นจากภาย นอกห้องไหลเข้ามาภายในห้องตลอดเวลา จึงทำให้คอมเพรสเซอร์ต้องทำงานตลอดเวลาเช่น กัน และทำให้ห้องเย็นไม่ถึงอุณหภูมิที่ตั้งไว้ จึงสิ้นเปลืองพลังงาน
กล่าวโดยสรุปก็คือ เครื่องปรับอากาศทำหน้าที่พาความร้อนที่เกิดขึ้นภายในห้อง ต่างๆ ของบ้านพักอาศัยผ่าน ทางแผงท่อทำความเย็นออกไปทิ้งภายนอกอาคารโดยผ่านทาง แผงท่อระบายความร้อนนั้นเอง หากการพาความไปทิ้งนี้เกิดขึ้นได้สะดวก ห้องต่างๆ ก็จะ เย็นได้รวดเร็วและสิ้นเปลืองไฟฟ้าน้อยด้วย
ขนาดการทำความเย็นและชนิดของเครื่องปรับอากาศ เครื่อง ปรับอากาศที่ใช้ตามบ้านทั่วไป มักมีขนาดการทำความเย็นระหว่าง 9,000- 30,000 บีทียู/ชม. (Btu/h) หรือ 0.75-2.5 ตันความเย็น (1 ตันความเย็น = 12,000 บีทียู /ชม.) เครื่องที่นิยมใช้กันมี 2 ชนิด คือ 1. เครื่องแบบแยกส่วน มีขนาดตั้งแต่ 9,000-30,000 บีทียู/ชม. ตัวเครื่องแบ่ง เป็น 2 ส่วน ส่วนที่อยู่ภายในห้องเรียกว่า แฟนคอยล์ยูนิต (Fan coil unit) มีหน้าที่ทำความเย็นพัดลมส่งลมเย็น แผ่นกรองอากาศ หน้ากากพร้อมเกล็ดกระจายลมเย็น และอุปกรณ์ ควบคุมอีกส่วนหนึ่งติดตั้งภายนอกห้อง เรียกว่า คอนเดนซิ่งยูนิต (Condensing unit) ประกอบ ด้วยคอมเพรสเซอร์แผงท่อระบายความร้อนและพัดลมระบายความร้อน เครื่องทั้ง สองส่วนเชื่อมต่อกันด้วยท่อสารทำความเย็น เครื่องแบบนี้นิยมใช้กันทั่วไปสำหรับบ้านเดี่ยวตามหมู่บ้าน บ้านชานเมือง บ้านใน เมืองหรือตึกแถว ซึ่งมีพื้นที่เพียงพอสำหรับการติดตั้งคอนเดนซิ่งยูนิต ตัวแฟนคอยล์ยูนิต โดยมีทั้งแบบติดเพดาน ติดผนัง หรือแบบตั้งพื้น เครื่อง แบบติดเพดานเหมาะกับห้องที่มีขนาดใหญ่ หรือเป็นห้องสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ค่อน ข้างยาว หรือไม่มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการติดตั้งบนพื้นห้อง เครื่องแบบติดผนังเหมาะกับห้องทั่วไป ลักษณะห้องค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส ส่วน เครื่องตั้งพื้นนั้นเหมาะกับห้องขนาดเล็ก เช่น ห้องนอนขนาดเล็กหรือห้องรับแขกขนาดเล็ก
2. เครื่องแบบติดหน้าต่าง มีขนาดตั้งแต่ 9,000-24,000 บีทียู/ชม. เหมาะ สำหรับอาคารที่เป็นตึกแถว หรือทาวน์เฮาส์ซึ่งไม่อาจติดตั้งคอนเดนซิ่งยูนิตได้เพราะไม่มีสถานที่ติด ตั้ง หรือสถานที่นั้นไม่เพียงพอ เช่น ความกว้างของกันสาดแคบเกินไป เป็นต้น มักติดที่วง กบช่องแสงเหนือบานหน้าต่างห้อง
|